ทิวทัศน์ของอมัลเทียและทิวทัศน์ที่มองจากอมัลเทีย ของ อมัลเทีย (ดาวบริวาร)

การจำลองวิวของท้องฟ้าเมื่อมองจากอมัลเทีย

จากพื้นผิวของดาวพฤหัสบดีหรือเหนือชั้นเมฆของดาวพฤหสับดี อมัลเทียจะปรากฏอย่างสุกสว่างด้วยค่าความส่องสว่างปรากฏที่ – 4.7[lower-alpha 2] ซึ่งเป็นความสว่างระดับเดียวกับดาวศุกร์เมื่อมองจากโลก แต่อมัลเทียปรากฏขนาดเพียง 8 ลิปดา (arcminutes) [lower-alpha 3] ซึ่งมีขนาดเล็กจนสังเกตได้ยาก คาบการโคจรของอมัลเทียยาวกว่าวันของดาวพฤหัสบดีเพียงเล็กน้อย (สำหรับกรณีนี้ประมาณ 20%) ซึ่งหมายความว่าอมัลเทียเดินทางข้ามขอบฟ้าของดาวพฤหัสบดีอย่างช้า ๆ เวลาตั้งแต่ดวงจันทร์อมัลเทียขึ้นถึงดวงจันทร์อมัลเทียลับขอบฟ้าจะมากกว่า 29 ชั่วโมง[23]จากพื้นผิวของอมัลเทียดาวพฤหัสบดีปรากฏขนาดใหญ่มากประมาณ 46 องศา[lower-alpha 3] อมัลเทียมีขนาดใหญ่ประมาณ 92 เท่าของจันทร์เต็มดวงเมื่อมองจากโลกเพราะว่าการหมุนไปพร้อมกันกับดาวพฤหัสบดีจะปรากฏคงที่บนท้องฟ้าไม่เคลื่อนที่ไปไหน และจะไม่สามารถมองเห็นได้จากอีกด้านของอมัลเทีย ดวงอาทิตย์ถูกดาวพฤหัสบดีบดบังราวหนึ่งชั่วโมงครึ่งทุก ๆ ครั้งที่โคจรครบหนึ่งรอบ และด้วยคาบการโคจรของอมัลเทียที่สั้นมากทำให้มีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่าหกชั่วโมง แม้ว่าดาวพฤหัสบดีจะปรากฏความสว่างมากกว่า 900 เท่าเมื่อเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงที่มองจากโลก แต่ก็กระจายไปบนพื้นที่มากกว่า 8500 เท่า ดังนั้น จึงไม่สว่างมากกว่าเมื่อเทียบต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่[lower-alpha 2]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: อมัลเทีย (ดาวบริวาร) http://www.space.com/scienceastronomy/almathea_upd... http://www.cbat.eps.harvard.edu/iauc/02800/02846.h... http://www.cbat.eps.harvard.edu/iauc/08100/08107.h... http://www.astro.umd.edu/~hamilton/research/prepri... http://solarsystem.nasa.gov/galileo/news/display.c... http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15919987 http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15919987 http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10325220 http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10325220 http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15618511